รู้เขา รู้เรา รู้โลก รู้โศก รู้สุข ไม่สิ้นหวัง เพราะอ่านได้อ่านดีมีพลัง ห้องสมุดคือขุมคลังของชีวิต สุจิตต์ วงษ์เทศ
 
รายการหลัก
 
 
MENU LINK :
 
 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม
Website Hit Counter

 

 

 

   

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ

 

ประวัติอาคารภูมิปัญญา

รูปแบบ  อาคาร ๒ ชั้นเหมือนตึก๑๐๐ปีวัดบวรนิเวศวรวิหาร
ประธานดำเนินการก่อสร้าง พระพรหมเวที  รองสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม 
รองประธานดำเนินการก่อสร้าง พระครูบวรพัฒนโกศล  อดีตเจ้าคณะบางคอแหลม เจ้าอาวาสวัดบางคอแหลม 
ผู้ออกแบบ กองออกแบบ  กรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ
ทุนก่อสร้าง ๕ ล้านบาท

 


ความเป็นมา
     เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๓  นายอำนาจ  เดชสุภา   ผู้อำนวยการโรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” ในขณะนั้น  มีแนวคิดที่จะก่อสร้างเรือนไทย ๑ หลัง เพื่อไว้สำหรับเป็นที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นพนมสารคาม  จึงได้ปรึกษาหารือร่วมกับชมรมผู้ปกครองและครู  สมาคมศิษย์เก่า   คณะกรรมการสถานศึกษา  ทุกองค์กรเห็นพ้องด้วย  จึงได้นำแนวคิดนี้ไปกราบนมัสการปรึกษาพระพรหมเวทีและพระครูบวรพัฒนกิจโกศล  ซึ่งพระผู้ใหญ่ทั้ง ๒ ท่านนี้เป็นลูกศิษย์ของพระอดุลสารมุนี  ผู้ก่อตั้งโรงเรียน       พระพรหมเวทีให้ความเห็นว่าเรือนไทยสร้างด้วยไม้  ในอนาคตจะดูแลรักษาให้คงสภาพเดิมทำได้ยาก  จึงเห็นสมควรให้ก่อสร้างด้วยปูน  โดยให้กองออกแบบจากกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ออกแบบ 

หลังจากนั้นโรงเรียนได้ดำเนินการหาทุนก่อสร้างเบื้องต้นได้จำนวน  ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาทดังนี้

  1. ผ้าป่าจากพระพรหมเวที                                        ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
  2. สมาคมศิษย์เก่าปี ๒๕๔๓และ๒๕๔๕                        ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
  3. ชมรมผู้ปกครองและครูพนมอดุลวิทยา                     ๒๐๐,๐๐๐ บาท
  4. คุณวิเชียร  คุณสุภา ตันเจริญ,ส.ส.สุชาติ  ตันเจริญ    ๒๐๐,๐๐๐ บาท
  5. คุณกิมลี้  เช้าเจริญ                                                ๑๐๐,๐๐๐ บาท

เมื่อหาทุนก่อสร้างเบื้องต้นได้แล้วจึงเริ่มวางศิลาฤกษ์  เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม  ๒๕๔๖
ดำเนินการก่อสร้างและหาทุนเพิ่มโดยการทอดผ้าป่าการศึกษา  รับบริจาคจากผู้ปกครอง  คณะครูและผู้อุปการคุณอีกเป็นระยะ ๆ    พร้อมทั้งผ้าป่าจากพระพรหมเวทีอีก ๑ ครั้ง เป็นเงิน  ๓๘๓,๙๕๐ บาท  จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐
รวมค่าก่อสร้างจำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐บาท(ห้าล้านบาท)
     นายโสภณ  สุขเสวี ผู้อำนวยการโรงเรียนคนต่อมา(๒๕๔๗-๒๕๕๕) ได้สานต่อ    การก่อสร้างอาคารให้เสร็จสมบูรณ์  พระพรหมเวที  เห็นสมควรให้ขอพระราชทาน พระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ    ๑๒ สิงหาคม  ๒๕๔๗  ประดิษฐานที่หน้าบัณอาคารศูนย์การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นพนมสารคาม  ดังนั้นจึงตั้งชื่ออาคารว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ”
          เมื่อได้รับพระราชทานพระราชานุญาต เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  ประดิษฐานหน้าบัณอาคารแล้ว นายสุจิตต์  วงษ์เทศ  ได้เสนอความคิดเห็นว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ทรงมีพระราชประสงค์ให้นักเรียนได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์  โรงเรียนน่าจะทำเป็นอาคารรวบรวมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพนมสารคาม  โรงเรียนจึงปรึกษาหารือ  จัดเสวนา  รับฟังความคิดเห็นจากท้องถิ่น  ซึ่งทุกฝ่ายเห็นด้วยที่จะจัดทำ รวบรวมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพนมสารคาม  นายสุจิตต์       วงษ์เทศ  ได้ให้ความช่วยเหลือหาข้อมูลร่วมกับนักวิชาการจากกรมศิลปากรที่ ๕  ปราจีนบุรี  และอาจารย์  นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยศิลปากร  ต่อมาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒   ขอใช้เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์  โดยให้งบประมาณมาจัดซื้อหนังสือประวัติศาสตร์  สำหรับให้ครู นักเรียนได้มาศึกษา เรียนรู้
การใช้ประโยชน์ของอาคาร
ชั้นล่าง  ใช้แสดงประวัติ  ความเป็นมาของอำเภอพนมสารคาม
ชั้นบน  ใช้รวบรวมหนังสือประวัติศาสตร์  หนังสือทั่วไป  และผลงานของครู นักเรียนเพื่อให้นักเรียนมาศึกษาหาความรู้  ส่งเสริมนักเรียนให้รักการอ่าน
นายชาติชาย  ฟักสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนปัจจุบัน  มีนโยบายให้นักเรียนสืบค้นประวัติของพระอดุลสารมุนีโดยใช้ระบบ ICT และนักเรียนระดับชั้น ม.๑ ทุกห้องเวียนกันจัดพิธีสงฆ์  ทำบุญ เลี้ยงพระ หมุนเวียนให้ครบทุกห้อง  ให้เหมาะสมกับอัตลักษณ์ ของโรงเรียนว่า “ลูกหลวงพ่อจันทร์  ยึดมั่นคุณธรรม”